วันคล้ายวันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
วันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี
ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิตสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
การศึกษา
* ทรงพระอักษรเบื้องต้นในระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนจิตรลดา
* ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ ๑ วิชาเอกเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ วิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds"
* ทรงศึกษาต่อระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) ณ มหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน และยังทรงศึกษาด้านพิษวิทยาระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อีกด้วย
* ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรแบบไม่มีหน่วยกิตรายวิชา)ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ จากผลงานวิจัยเรื่อง "Molecular Genetic Studies and Preliminary Culture Experiments of Scallops Bivalve: Pectinidae) in Thailand"
* สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนจิตรลดาทรงเลือกศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา ๔ ปีการศึกษา และทรงสำเร็จปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตวิชาเอกเคมีเกียรตินิยมอันดับ ๑ ทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมีด้วย
เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อทรงมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึง อนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิต ก่อน ทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่ง ทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอย แม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตาม
ต่อมาสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้อนุมัติให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ด้วยความสนพระทัยในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์จึงได้ทรงเข้าศึกษาเพิ่มเติมในสาขาวิชาต่างๆ ที่สนพระทัย อาทิ การเข้าอบรมระดับหลังปริญญาเอก(Post Doctoral Training) เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering จากมหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน ศึกษาด้านพิษวิทยา ระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ศึกษาด้านการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ ระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ ๑ วิชาเอกเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ วิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds"
* ทรงศึกษาต่อระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) ณ มหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน และยังทรงศึกษาด้านพิษวิทยาระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อีกด้วย
* ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรแบบไม่มีหน่วยกิตรายวิชา)ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ จากผลงานวิจัยเรื่อง "Molecular Genetic Studies and Preliminary Culture Experiments of Scallops Bivalve: Pectinidae) in Thailand"
* สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนจิตรลดาทรงเลือกศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา ๔ ปีการศึกษา และทรงสำเร็จปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตวิชาเอกเคมีเกียรตินิยมอันดับ ๑ ทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมีด้วย
เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อทรงมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึง อนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิต ก่อน ทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่ง ทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอย แม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตาม
ต่อมาสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้อนุมัติให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ด้วยความสนพระทัยในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์จึงได้ทรงเข้าศึกษาเพิ่มเติมในสาขาวิชาต่างๆ ที่สนพระทัย อาทิ การเข้าอบรมระดับหลังปริญญาเอก(Post Doctoral Training) เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering จากมหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน ศึกษาด้านพิษวิทยา ระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ศึกษาด้านการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ ระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พระราชวงศ์ไทย
* พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
* สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
o ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
คุณพลอยไพลิน เจนเซน
คุณพุ่ม เจนเซน
คุณสิริกิติยา เจนเซน
o สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
o สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
o สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
* สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
* พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
* พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
* ทัศนาวลัย ศรสงคราม
* สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
o ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
คุณพลอยไพลิน เจนเซน
คุณพุ่ม เจนเซน
คุณสิริกิติยา เจนเซน
o สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
o สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
o สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
* สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
* พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
* พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
* ทัศนาวลัย ศรสงคราม
เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง สภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห ประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เหรียญเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ ๓ ของโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลนี้ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนชาวไทย
ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าว หน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไป
ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๘
และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่ม ในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิต ที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุด ในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ
นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่าง อื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ
จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษ วิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับรางวัล EMS Hollaender International Award ประจำ ปี ค.ศ. 2002 และในปีพ.ศ. ๒๕๔๗ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก อีกด้วย
นอกจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนา ประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทย อีกด้วย
การเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงมีภารกิจมากกว่าคนสามัญทั่วไป แต่พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้สำเร็จด้วยดี และที่สำคัญงานทั้งหมดของพระองค์ล้วนเป็นผลจากความมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สูง สุดต่อมวลมนุษยชาติ ความรัก ความยกย่อง และความศรัทธาที่พสกนิกรมีต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จึงเกิดขึ้นด้วยพระกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์ด้วย พระเมตตาธรรมและพระจริยาวัตร อันงดงามของพระองค์โดยแท้
รางวัลพระเกียรติคุณ
* องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (UNESCO's gold Einstein medal) เหรียญเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการและการส่ง เสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ทรงเป็นบุคคลที่ ๓ ของโลก และเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลนี้
* สมาคม Environmental Mutagen Society (EMS) แห่งสหรัฐอเมริกา ทูลเกล้ารางวัล EMS Alexander Hollaender International Fellow Award ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลก ในสาขาสารเคมีก่อให้เกิดโรคมะเร็ง พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และเคมีด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ตลอดจนการอุทิศพระองค์กับงานวิจัยและวิชาการ ก่อให้เกิดการส่งเสริมและการเผยแพร่ความรู้ในระดับภูมิภาคและในระดับนานา ชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
* Tree of Learning Award ในฐานะที่ทรงมีผลงานการฝึกอบรมบุคลากรทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก
* รางวัลเกียรติยศเหรียญทองเชิดชูเกียรติ CISAC Gold Medal Award ในฐานะทรงสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่มวลชนทั้งในและ ต่างประเทศ อาทิ การแสดงคอนเสิร์ตเพื่อการกุศล และการแสดงดนตรีและวัฒนธรรมสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
* ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
* ทรงรับการทูลเกล้าถวายรางวัล IFCS Special Recognition Award ณ กรุงบูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี จาก Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) ในพิธีเปิดการประชุมสมัยที่ ๕ ของเวทีการประชุมระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความปลอดภัยของสารเคมี เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศ ในภูมิภาค
* ทรงเป็นชาวเอเชียพระองค์แรก ที่ได้รับเชิญให้เป็น Honorary Fellow ของ The Royal Society of Chemistry ประเทศอังกฤษ
* รางวัล Nagoya Medal Special Award เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลทางด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณ ประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลดังกล่าว ในการประชุม 1st International Conference of Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia จากมหาวิทยาลัย Nagoya ณ เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๔๙
* รางวัลเหรียญทอง Albert Hofmann Centennial Gold Medal Award เป็นรางวัลสำหรับผู้มีผลงานวิจัยดีเด่นด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้เป็นพระองค์แรกของโลก เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐ ณ สถาบันอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะที่ทรงมีพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และทรงอุทิศพระองค์ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยด้านอินทรีย์เคมี
* สมาคม Environmental Mutagen Society (EMS) แห่งสหรัฐอเมริกา ทูลเกล้ารางวัล EMS Alexander Hollaender International Fellow Award ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลก ในสาขาสารเคมีก่อให้เกิดโรคมะเร็ง พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และเคมีด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ตลอดจนการอุทิศพระองค์กับงานวิจัยและวิชาการ ก่อให้เกิดการส่งเสริมและการเผยแพร่ความรู้ในระดับภูมิภาคและในระดับนานา ชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
* Tree of Learning Award ในฐานะที่ทรงมีผลงานการฝึกอบรมบุคลากรทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก
* รางวัลเกียรติยศเหรียญทองเชิดชูเกียรติ CISAC Gold Medal Award ในฐานะทรงสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่มวลชนทั้งในและ ต่างประเทศ อาทิ การแสดงคอนเสิร์ตเพื่อการกุศล และการแสดงดนตรีและวัฒนธรรมสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
* ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
* ทรงรับการทูลเกล้าถวายรางวัล IFCS Special Recognition Award ณ กรุงบูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี จาก Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) ในพิธีเปิดการประชุมสมัยที่ ๕ ของเวทีการประชุมระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความปลอดภัยของสารเคมี เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศ ในภูมิภาค
* ทรงเป็นชาวเอเชียพระองค์แรก ที่ได้รับเชิญให้เป็น Honorary Fellow ของ The Royal Society of Chemistry ประเทศอังกฤษ
* รางวัล Nagoya Medal Special Award เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลทางด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณ ประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลดังกล่าว ในการประชุม 1st International Conference of Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia จากมหาวิทยาลัย Nagoya ณ เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๔๙
* รางวัลเหรียญทอง Albert Hofmann Centennial Gold Medal Award เป็นรางวัลสำหรับผู้มีผลงานวิจัยดีเด่นด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้เป็นพระองค์แรกของโลก เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐ ณ สถาบันอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะที่ทรงมีพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และทรงอุทิศพระองค์ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยด้านอินทรีย์เคมี
สถานที่ และพันธุ์สัตว์อันเนื่องด้วยพระนาม
สถานที่
* อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
* เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
การแพทย์ และการสาธารณสุข
* สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
สถาบันการศึกษา
* มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
* โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ๑๒ โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษา เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พันธุ์สัตว์
* ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993)
* ปลาซิวเจ้าฟ้า (Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990)
* อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
* เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
การแพทย์ และการสาธารณสุข
* สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
สถาบันการศึกษา
* มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
* โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ๑๒ โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษา เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
o โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พันธุ์สัตว์
* ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993)
* ปลาซิวเจ้าฟ้า (Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990)
ที่มา : http://www.kaweeclub.com/b6/4-2612/ และวิกิพีเดีย
ภาพประกอบ : www.thairath.co.th www. rtmahidol.com www.thaufilm.com www.tlcthai.com
ภาพประกอบ : www.thairath.co.th www. rtmahidol.com www.thaufilm.com www.tlcthai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น