8 กันยายน วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ
ความเป็นมา เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ที่โลกได้มีการเฉลิมฉลองวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ (International Literacy Day) ในวันที่ 8 กันยายนของทุกปี โดยเริ่มต้นแต่ปี พ.ศ. 2509 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ อันเป็นหลักการของ UNESCO
การประชุมสมัยสามัญของ UNESCO แรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 ผู้อำนวยการใหญ่ได้ เรียกร้องให้ชาวโลกให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อปวงชน(Education for All) โดยเฉพาะเด็กที่ตกหล่นอยู่นอกโรงเรียนและในที่ประชุม World Conference of Ministers of Education on the Eradication of llliteracy ณ กรุงเตหะราน เมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการเสนอให้ วันที่ 8 กันยายน ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของการประชุมดังกล่าว ให้เป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ
การประชุมสมัยสามัญของ UNESCO แรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 ผู้อำนวยการใหญ่ได้ เรียกร้องให้ชาวโลกให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อปวงชน(Education for All) โดยเฉพาะเด็กที่ตกหล่นอยู่นอกโรงเรียนและในที่ประชุม World Conference of Ministers of Education on the Eradication of llliteracy ณ กรุงเตหะราน เมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการเสนอให้ วันที่ 8 กันยายน ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของการประชุมดังกล่าว ให้เป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ
ทศวรรษแห่งการรู้หนังสือของสหประชาชาติ (2003 – 2012)
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้นำเสนอประเด็นในช่วงนี้คือ ทศวรรษแห่งการรู้หนังสือ ภายใต้คำขวัญของ “Literacy as Freedom” การรู้หนังสือเป็นการให้อิสรภาพแก่ผู้คนทั้งหลาย เป็นอิสรภาพจากความไม่รู้ อิสรภาพจากความยากจน อิสรภาพจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เพียงเพราะคนเหล่านั้น มีความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อรู้หนังสือและมีโอกาสนำไปปฏิบัติแล้ว ก็จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเสรี และมีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การรณรงค์ในวันที่ 8 กันยายน จึงเป็นความพยายามที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลของทุกๆ ประเทศ และทุกๆ คนในสังคมตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องระดมสรรพกำลังแก้ไขปัญหาความไม่รู้หนังสือของประชากรในประเทศ โดยมีเป้าหมายของการศึกษา คือการเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ 50% ในปี 2,015
**** กิจกรรม 8 กันยายน ของห้องสมุดประชานอำเภอคลองหลวง ****
กิจกรรมทายสุภาษิตจากภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น